ก. ทฤษฎีการเรียนรู้
ทฤษฎี “Constructionism” เป็นทฤษฎีที่มีพื้นฐานมาจากทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ (Piaget) เช่นเดียวกับทฤษฎีการสร้างความรู้ ผู้พัฒนาทฤษฎีนี้คือ ศาสตราจารย์ ซีมัวร์ เพเพอร์ท (Seymour Papert) แห่งสถาบันเทคโนโลยีแมสซาซูเซตตส์ (Massachusetts Institute of Technology) เพเพอร์ทได้มีโอกาสร่วมงานกับเพียเจต์และได้พัฒนาทฤษฎีนี้ขึ้นมาใช้ในวงการศึกษา
Øการเรียนที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเองและด้วยตนเองของผู้เรียน
Øหากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิด และนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม จะทำให้เห็นความคิดนั้นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน
Øเมื่อผู้เรียนสร้างสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมาในโลก ก็หมายถึงการสร้างความรู้ขึ้นในตนเอง
Øความรู้ที่ผู้เรียนสร้างขึ้นในตนเอง จะมีความหมายต่อผู้เรียน จะอยู่คงทน ไม่ลืมง่าย
Øผู้เรียนจะสามารถถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจในความคิดของตนเองได้ดี
Øความรู้ที่ผู้เรียนสร้างขึ้น จะเป็นรากฐานให้ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ใหม่ต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
ข. การประยุกต์ใช้ทฤษฎีในการเรียนการสอน
1. ผลของการเรียนรู้ของผู้เรียนจะมุ่งเน้นไปที่กระบวนการสร้างความรู้ เป้าหมายของการเรียนจะต้องมาจากการปฏิบัติ
2. เป้าหมายการสอนเปลี่ยนจากการถ่ายทอดไปสู่การสาธิตกระบวนการแปลและสร้างความหมายที่หลากหลาย
3. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีบทบาทในการเรียนรู้อย่างตื่นตัว
4. ในการจัดการเรียนการสอน ครูต้องสร้างบรรยากาศทางสังคมจริยธรรมให้เกิดขึ้น
5. ในการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนได้นำตนเองและควบคุมตนเองในการเรียนรู้
6. ในการจัดการเรียนรู้ ครูจะเปลี่ยนจากผู้ถ่ายทอด ไปเป็นการให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือผู้เรียน
7. การประเมินผลต้องมีลักษณะเป็น “gold free evaluation” คือ ประเมินตามจุดมุ่งหมายและยืดหยุ่นตามความสามารถของแต่ตละบุคคล
8. มีการใช้สื่อ เทคโนโลยี วัสดุ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เหมาะสมให้ผู้เรียนได้ใช้สร้างผลงาน
9. มีการจัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่ดี ซึ่งควรมีองค์ประกอบ 3 ประการ ได้แก่
Ÿ เป็นบรรยากาศที่มีทางเลือกหลากหลาย
Ÿ เป็นสภาพแวดล้อมที่มีความแตกต่างกันอันจะเป็นประโยชน์ต่อการสร้างความรู้และชิ้นงาน
Ÿ เป็นบรรยากาศที่มีความเป็นมิตร เป็นกันเอง อบอุ่น สบายใจ และปลอดภัย
http://www.oknation.net ได้รวบรวมแล้วกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า แนวคิดของทฤษฏีนี้ คือ การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเอง หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม จะทำให้ความคิดเห็นนั้นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ ครูจะต้องทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้แก่ผู้เรียน ให้คำปรึกษาชี้แนะแก่ผู้เรียน เกื้อหนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ ในการประเมินผลนั้นต้องมีการประเมินทั้งทางด้านผลงานและกระบวนการซึ่งสามารถใช้วิธีการที่หลากหลาย เช่น การประเมินตนเอง การประเมินโดยครูและเพื่อน การสังเกต การประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมงาน
http://52040033.web.officelive.com/99.aspxได้รวบรวมแล้วกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า Constructionism เป็นทฤษฎีที่มีพื้นฐานมากจากทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา ของเพียเจต์ (Piaget) ทฤษฎี Constructionism พัฒนาโดย Seymour Papert แห่งสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (Massacchusetts Institute of Technology) แนวคิดของทฤษฎีนี้ เชื่อว่า การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเองและต้วยตนเองของผู้เรียน หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมจะทำให้เห็นความคิดนั้นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน และเมื่อผู้เรียนสร้าง สิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมาในโลก ก็หมายถึงการสร้างความรู้ขึ้นในตนเองนั่นเอง ความรู้ที่ผู้เรียนสร้างขึ้นในตนเองนี้ จะมีความหมายต่อผู้เรียนจะอยู่คงทน ผู้เรียนจะไม่ลืมง่าย และจะสามารถถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจความคิดของตนได้ดีนอกจากนั้นความรู้ที่สร้างขึ้นเองนี้ ยังจะเป็นฐานให้ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ใหม่ต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด สรุป
การเรียนรู้ที่เกิดจากการสร้างสรรค์ชิ้นงานด้วยตนเองจะทำให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์โดยตรง เกิดความคิดกว้าง เกิดการจดจำที่ยาวนานและจะมีการพัฒนาต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเอง หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมก็จะทำให้ความคิดเห็นนั้นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น
เอกสารอ้างอิง
· ทิศนา แขมมณี. 2547. องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. ศาสตร์การสอน.
สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : กรุงเทพฯ.
· http://www.oknation.net/blog/print.php?id=294321.
เข้าถึงเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2554
เข้าถึงเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2554
· http:// 52040033.web.officelive.com/99.aspx.
เข้าถึงเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2554
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น