โดยทั่วไป นวัตกรรม หมายถึง ความพยายามใดจะเป็นผลสำเร็จหรือไม่ มากน้อยเพียงใดก็ตามที่เป็นไปเพื่อจะนำสิ่งใหม่ๆเข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีการที่ทำอยู่เดิมแล้ว กับอีกระดับหนึ่งซึ่งวงการวิทยาศาสตร์แห่งพฤติกรรม ได้พยายามศึกษาถึงที่มา ลักษณะกรรมวิธีและผลกระทบ ที่มีอยู่ต่อคนที่เกี่ยวข้อง คำว่า นวัตกรรม มักจะ หมายถึง สิ่งที่ได้นำความเปลี่ยนแปลงใหม่เข้ามาใช้ ได้ผลสำเร็จและแผ่กว้างออกไป จนกลายเป็นการปฏิบัติอย่างธรรมดาสามัญ เช่น การปลูกฝีในวงการแพทย์ การทำเหล็กกล้าในวงการอุตสาหกรรม เป็นต้น
ทอมัส ฮิวช์ (Thomas Hughes) (2542:13) กล่าวไว้ว่า นวัตกรรม เป็นการนำวิธีการใหม่ๆมาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้นๆแล้ว โดยเริ่มมาตั้งแต่การคิดค้น(Invention) การพัฒนา(Development) อาจจะเป็นไปในรูปของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน(Pilot Project) แล้วจึงนำไปปฏิบัติจริงซึ่งมีความแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา
นอร์ดและทัคเคอร์ (Nord & Tucker, 1987) กล่าวไว้ว่า นวัตกรรม หมายถึง ขบวนการเสนอสิ่งใหม่ที่ใหม่อย่างแท้จริงสู่สังคม (Radical Innovation) โดยการเปลี่ยนแปลงค่านิยม (value), ความเชื่อ (belief), ตลอดจนระบบค่านิยม (value system) รูปแบบเดิมๆ ของสังคมอย่างสิ้นเชิง ตัวอย่างเช่น อินเตอร์เน็ท จัดว่าเป็นนวัตกรรมหนึ่งในยุคโลกข้อมูลข่าวสาร การนำเสนอระบบอินเตอร์เน็ท ทำให้ค่านิยมเดิมที่เชื่อว่า โลกข้อมูลข่าวสารจำกัดอยู่ในวงเฉพาะทั้งในด้านเวลาและสถานที่นั้นเปลี่ยนไป อินเทอร์เน็ต เปิดโอกาสให้ความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลไร้ขีดจำกัด ทั้งในด้านของเวลา และระยะทาง การเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ทำให้ระบบคุณค่าของข้อมูลข่าวสารเปลี่ยนแปลงไป บางคนเชื่อว่า อินเทอร์เน็ตจะเข้ามาแทนที่ระบบการส่งข้อมูลข่าวสารในระบบเดิม อย่างสิ้นเชิงในไม่ช้า อาทิเช่น ระบบไปรษณีย์
สรุป
นวัตกรรม เป็นการนำวิธีการใหม่ๆมาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้นๆแล้ว เป็นไปเพื่อจะนำสิ่งใหม่ๆเข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีการที่ทำอยู่เดิมแล้ว
เอกสารอ้างอิง
· http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=003abc82634a15f2.
เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2554
เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2554
· บุญเกื้อ ควรหาเวช. (2530). นวัตกรรมการศึกษา. เจริญวิทย์การพิมพ์ : กรุงเทพฯ.
· บุญเกื้อ ควรหาเวช. (2542). นวัตกรรมการศึกษา. หจก. SR Printing : กรุงเทพฯ.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น