วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนรู้

             ชื่อนวัตกรรม       : E-learning หรือ การเรียนรู้แบบออนไลน์
             ใช้สอนเรื่อง       : การหาพื้นที่ผิวและปริมาตรรูปทรงเรขาคณิต
             นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
             แนวคิด E-learning หรือ การเรียนรู้แบบออนไลน์เหมาะสมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เพราะ เป็นวัยที่กำลังเข้าสู่วัยรุ่นการที่ได้เรียนผ่านอินเตอร์เน็ตซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของพวกเด็กนักเรียน ทำให้นักเรียนสนใจในการเรียนมากขึ้นและยังเป็นการเพิ่มความหลากหลายในการเรียนการสอนด้วย  โดยเฉพาะเรื่อง การหาพื้นที่ผิวและปริมาตรรูปทรงเรขาคณิต เป็นเรื่องที่ต้องใช้สื่อการสอนจึงเหมาะกับการเรียนลักษณะนี้อย่างยิ่ง  E-learning หรือ การเรียนรู้แบบออนไลน์เป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ผู้เรียนจะได้เรียนตาม ความสามารถและความสนใจของตน โดยเนื้อหาของบทเรียนซึ่งประกอบด้วย ข้อความ รูปภาพเสียง วิดีโอและมัลติมีเดียอื่นๆ จะถูกส่งไปยังผู้เรียนผ่านอินเตอร์เน็ตโดยผู้เรียน ผู้สอน และ เพื่อนร่วมชั้นเรียนทุกคน สามารถติดต่อ ปรึกษาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้เช่นเดียวกับ การเรียนในชั้นเรียนปกติ โดยอาศัยเครื่องมือการติดต่อ สื่อสารที่ทันสมัย จึงเป็นการเรียนสำหรับทุกคน, เรียนได้ทุกเวลา และทุกสถานที่

รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอนประกอบด้วยอะไรบ้าง

                  สื่อหลายมิติ ( 2000 : 165 ) ความหมาย   สื่อหลายมิตินั้นเป็นสื่อประสมที่พัฒนามาจากข้อความหลายมิติ ซึ่งแนวความคิดเกี่ยวกับข้อ ความหลายมิติ (hypertext) นี้มีมานานหลายสิบปีแล้ว โดย แวนนิวาร์ บุช (Vannevar Bush) เป็นผู้ ที่มีความคิดริเริ่มเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยเขากล่าวว่าน่าจะมีเครื่องมืออะไรสักอย่างที่ช่วยในเรื่อง ความจำและความคิดของมนุษย์ที่จะช่วยให้เราสามารถสืบค้นและเรียกใช้ข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ได้ หลาย ๆ ข้อมูลในเวลาเดียวกันเหมือนกับที่คนเราสามารถคิดเรื่องต่าง ๆ ได้หลายเรื่องในเวลาเดียวกัน
                      จากแนวคิดดังกล่าว เท็ด เนลสัน และดั๊ก เอนเจลบาร์ต ได้นำแนวคิดนี้มาขยายเป็นรูปเป็น ร่างขึ้น โดยการเขียนบทความหรือเนื้อหาต่าง ๆ กระโดยข้ามไปมาได้ในลักษณะที่ไม่เรียงลำดับเป็น เส้นตรงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งต่อมาเรียกกันว่า ไฮเพอร์เท็กซ์หรือข้อความหลายมิติ โดยการใช้ คอมพิวเตอร์ช่วย แนวคิดเริ่มแรกของสื่อหลายมิติคือความต้องการเครื่องมือช่วยในการคิดหรือการ จำที่ไม่ต้องเรียงลำดับ และสามารถคิดได้หลายอย่างในเวลาเดียวกัน
                       ข้อความหลายมิติ  Hypertext หรือข้อความหลายมิติ คือเทคโนโนยีของการอ่านและการเขียนที่ไม่เรียงลำดับ เนื้อหากัน โดยเสนอในลักษณะของข้อความที่เป็นตัวอักษร หรือภาพกราฟิคอย่างง่าย ที่มีการ เชื่อมโยงถึงกัน เรียกว่า จุดต่อ” (node) โดยผู้ใช้สามารถเคลื่อนที่จากจุดต่อหนึ่งไปยังอีกจุดต่อ หนึ่งได้โดยการเชื่อมโยงจุดต่อเหล่านั้น
                        ข้อความหลายมิติ เป็นระบบย่อยของสื่อหลายมิติ คือเป็นการนำเสนอสารสนเทศที่ผู้อ่านไม่ จำเป็นต้องอ่านเนื้อหาในมิติเดียวเรียงลำดับกันในแต่ละบทตลอดทั้งเล่ม โดยผู้อ่านสามารถข้ามไปอ่านหรือค้นคว้าข้อมูลที่สนใจตอนใดก็ได้โดยไม่ต้องเรียงลำดับลักษณะข้อความหลายมิติอาจ เปรียบเทียบได้เสมือนกับบัตรหรือแผ่นฟิล์มใส หลาย ๆ แผ่นที่วางซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ในแต่ละแผ่นจะบรรจุข้อมูลแต่ละอย่างลงไว้
                        สื่อหลายมิติ (Hypermedia)  มีนักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมายและลักษณะของสื่อหลายมิติไว้ดังนี้
                                น้ำทิพย์    วิภาวิน    (2542:53) กล่าวไว้ว่า สื่อหลายมิติ (Hypermedia) เป็นเทคนิคที่ต้องการใช้สื่อผสมอื่น ๆ ที่คอมพิวเตอร์สามารถนำเสนอได้ในรูปแบบต่าง ๆ ได้ทั้งข้อความ เสียง ภาพนิ่ง และ
ภาพเคลื่อนไหว
                                วิเศษศักดิ์     โคตรอาชา   (2542:53)  กล่าวว่า สื่อหลายมิติ Hypermedia เป็นการขยาย
แนวความคิดจาก Hypertext อันเป็นผลมาจากพัฒนาการของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่สามารถผสมผสาน
สื่อและอุปกรณ์หลายอย่างให้ทำงานไปด้วยกัน
                                กิดานันท์    มลิทอง  (2540:269) กล่าวไว้ว่า สื่อหลายมิติ เป็นการขยายแนวความคิดของข้อความหลายมิติในเรื่องของการเสนอข้อมูลในลักษณะไม่เป็นเส้นตรง และเพิ่มความสามารถในการบรรจุข้อมูลในลักษณะของภาพเคลื่อนไหวแบบวีดิทัศน์ ภาพกราฟิคในลักษณะภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพถ่าย เสียงพูด เสียงดนตรี เข้าไว้ในเนื้อหาด้วย เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาเรื่องราวได้หลายรูปแบบมากกว่าเดิม
                       
สื่อหลายมิติในการเรียนการสอน
การนำเสนอเนื้อหาแบบข้อความหลายมิติและสื่อหลายมิติเป็นการนำเสนอเนื้อหาในลักษณะของกรอบความคิดแบบใยแมงมุม ซึ่งเป็นกรอบความคิดที่เชื่อว่าจะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกับวิธีที่มนุษย์จัดระบบความคิดภายในจิต ดังนั้น ข้อความหลายมิติและสื่อหลายมิติจึงทำให้สามารถคัดลอกและจำลองเครือข่ายโยงใยความจำของมนุษย์ได้ การใช้ข้อความหลายมิติและสื่อหลายมิติในการเรียนการสอนจึงช่วยให้ผู้เรียน
                                สรุป                      
                        สื่อหลายมิติในการเรียนการสอน คือ สื่อหลายมิติที่ได้มีการพัฒนามาจากเครื่องคอมพิวเตอร์โดยนำมาประยุกต์ให้เข้ากับการเรียนการสอน   เช่น บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นบทเรียนที่ประกอบด้วยเนื้อหา มีการใช้คุณลักษณะของสื่อหลายมิติในการเชื่อมโยงหัวข้อต่าง  เป็นต้น 
เอกสารอ้างอิง
·       http://yupapornintreewon017.page.tl
                เข้าถึงเมื่อวันที่
28 กรกฎาคม 2554

สื่อการสอน หมายถึงอะไร

                สื่อ ( Medium, pl. Media ) ( เปรื่อง กุมุท 2519 : 1)  เป็นคำที่มาจากภาษาลาตินว่า  “ Medium ”
 แปลว่า “ ระหว่าง ” ( between ) หมายถึง สิ่งใดก็ตามที่บรรจุข้อมูลเพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับสามารถสื่อสารกัน
ได้ตรงตามวัตถุประสงค์ เมื่อมีการนำสื่อมาใช้ในการเรียนการสอน จึงเรียกว่า “ สื่อการสอน ”     
( Instructional Media) หมายถึง สื่อชนิดใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นเทปบันทึกเสียง สไลด์ วิทยุ โทรทัศน์ วิดีโอ 
แผนภูมิ ภาพนิ่ง ฯลฯ ซึ่งบรรจุเนื้อหาเกี่ยวกับการเรียนการสอน ( Heinich, and others 1989 : 7 – 8 ) สิ่ง
เหล่านี้เป็นวัสดุอุปกรณ์ทางกายภาพที่นำมาใช้ในเทคโนโลยีการศึกษา ( Percival and Ellington 1984 : 185)
เป็นสิ่งที่ใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางสำหรับทำให้การสอนของผู้สอนส่งไปถึงผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนสามารถ
เกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายที่ผู้สอนวางไว้ได้เป็นอย่างดี 
ต่อไปนี้เป็นคำจำกัดความของสื่อการสอน มีดังนี้
บราวน์ และคณะ  (Brown and other. 1964: 584)  กล่าวว่า สื่อการสอนหมายถึง จำพวกอุปกรณ์ทั้งหลายที่สามารถช่วยเสนอความรู้ให้แก่ผู้เรียนจนเกิดผลการเรียนที่ดี ทั้งนี้มีความหมายรวมถึงกิจกรรมต่าง ๆ ไม่เฉพาะแต่สิ่งที่เป็นวัตถุหรือเครื่องมือเท่านั้น เช่น การศึกษานอกสถานที่  การแสดงบทบาท นาฏการ การสาธิต การทดลอง  ตลอดจนการสัมภาษณ์และการสำรวจ   เป็นต้น
เกอร์ลัช และอีลี ( ไชยยศ เรืองสุวรรณ. 2526:141: อ้างอิงมาจาก Gerlach and Ely.) ได้ให้คำจำกัดความของ สื่อการสอน ไว้ว่าสื่อการสอน คือ บุคคล วัสดุหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ซึ่งทำให้นักเรียนได้รับความรู้
ทักษะ ทัศนคติ ครู หนังสือ และสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนจัดเป็นสื่อการสอนทั้งสิ้น
ไฮนิคส์ โมเลนดาและรัสเซล(Heinich, Molenda and Russel. 1985 : 5) ให้ทัศนะเกี่ยวกับสื่อการสอนไว้ว่า สื่อการสอน หมายถึง สื่อชนิดใดก็ตามไม่ว่าจะเป็น สไลด์ โทรทัศน์ วิทยุ เทปบันทึกเสียง 
ภาพถ่าย วัสดุฉายและวัตถุสิ่งตีพิมพ์ ซึ่งเป็นพาหนะในการนำข้อมูลจากแหล่งข้อมูลไปยังผู้รับ เมื่อนำมาใช้
กับการเรียนการสอน หรือส่งเนื้อหาความรู้ไปยังผู้เรียนในกระบวนการเรียนการสอน เรียกว่า สื่อการสอน
ชอร์ส กล่าวว่า เครื่องมือที่ช่วยสื่อความหมายจัดขึ้นโดยครูและนักเรียนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ เครื่องมือการสอนทุกชนิดจัดเป็นสื่อการสอน เช่นหนังสือในห้องสมุด โสตทัศนวัสดุต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ สไลด์ ฟิล์มสตริป รูปภาพ
  บราวน์ และคณะกล่าวว่าจำพวกอุปกรณ์ทั้งหลายที่สามารถช่วยเสนอความรู้ให้แก่ผู้เรียนจนเกิดผลการเรียนที่ดีทั้งนี้รวมถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่ไม่เฉพาะแต่สิ่งที่เป็นวัตถุหรือเครื่องมือเท่านั้นเช่น การศึกษานอกสถานที่ การแสดง บทบาทนาฏการ การสาธิต การทดลองตลอดจนการสัมภาษณ์และการสำรวจ เป็นต้น
  เปรื่อง กุมุท กล่าวว่าสื่อการสอน หมายถึงสิ่งต่าง ๆที่ใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางสำหรับทำให้การสอนของครูถึงผู้เรียนและทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายที่ครูวางไว้ได้เป็นอย่างดี
    ชัยยงค์ พรหมวงศ์ ให้ความหมาย สื่อการสอนว่าวัสดุอุปกรณ์และวิธีการประกอบการสอนเพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการสื่อความหมายที่ผู้สอนประสงค์จะส่งหรือถ่ายทอดไปยังผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สรุป                      
                สื่อการสอน หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ ซึ่งถูกนำมาใช้ในการการเรียนการสอน เพื่อเป็นตัวกลางในการนำส่งหรือถ่ายทอดความรู้ ทักษะ และเจตคติ จากผู้สอนหรือแหล่งความรู้ไปยังผู้เรียน ช่วยให้การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ และทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนที่ตั้งไว้
 เอกสารอ้างอิง
·       http://pineapple-eyes.snru.ac.th/stm/index.php?q=node/107
                เข้าถึงเมื่อวันที่
28 กรกฎาคม 2554
·       http://yupapornintreewon017.page.tl
                เข้าถึงเมื่อวันที่
28 กรกฎาคม 2554
ประเภทของสื่อการสอน
โรเบิร์ต อี. ดี. ดีฟเฟอร์ แบ่งประเภทของสื่อการสอน ดังนี้
1.  วัสดุที่ไม่ต้องฉาย ได้แก่ รูปภาพ แผนภูมิ กราฟ ของจริง ของตัวอย่าง หุ่นจำลอง แผนที่ กระดาษสาธิต ลูกโลก กระดานชอล์ค กระดานนิเทศ กระดานแม่เหล็ก การแสดงบทบาท นิทรรศการ การสาธิต และการทดลองเป็นต้น
2. วัสดุฉายและเครื่องฉาย ได้แก่ สไลด์ ฟิล์มสตริป ภาพโปร่งใส ภาพทึบ ภาพยนตร์ และเครื่องฉายต่าง ๆ เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายสไลด์ และฟิล์มสตริป เครื่องฉายกระจกภาพ เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ เครื่องฉายภาพทึบแสง เครื่องฉายภาพจุลทัศน์ เป็นต้น
3. โสตวัสดุและเครื่องมือ ได้แก่ แผ่นเสียง เครื่องเล่นจานเสียง เทป เครื่องบันทึกเสียง เครื่องขยายเสียง และวิทยุ เป็นต้น
ศาสตราจารย์สำเภา วรางกูร ได้แบ่งประเภทและชนิดของสื่อการสอน ดังนี้
ก.   ประเภทวัสดุโสตทัศน์ (Audio-Visual Materials)
   1.    ประเภทภาพประกอบการสอน(Picture Instructional Materials)
                 I.   ภาพที่ไม่ต้องฉาย (Unprojected Pictures)
                          i.   ภาพเขียน (Drawing)
                          ii.    ภาพแขวนผนัง (Wall Pictures)
                           iii.   ภาพตัด (Cut-out Pictures)
                          iv.    สมุดภาพ (Pictorial Books, Scrapt Books)
                           v.    ภาพถ่าย (Photographs)
                 II.   ภาพที่ต้องฉาย (Project Pictures)
                          i.   สไลด์ (Slides)
                          ii.   ฟิล์มสตริป (Filmstrips)
                          iii.   ภาพทึบ (Opaque Projected Pictures)
                          iv.   ภาพโปร่งแสง (Transparencies)
                          v.   ภาพยนตร์ 16 มม., 8 มม., (Motion Pictures)
                          vi.   ภาพยนตร์ (Video Tape) 
   2.    ประเภทวัสดุอุปกรณ์ลายเส้น (Graphic Instructional Materials)
                           I.   แผนภูมิ (Charts)
                          II.   กราฟ (Graphs)
                           III.   แผนภาพ (Diagrams)
                          IV.   โปสเตอร์ (Posters)
                          V.   การ์ตูน (Cartoons, Comic strips)
                          VI.   รูปสเก็ช (Sketches)
                          VII.    แผนที่ (Maps)
                          VIII.   ลูกโลก (Globe)
   3.    ประเภทกระดานและแผ่นป้ายแสดง (Instructional Boards and Displays)
                          I.   กระดานดำหรือกระดานชอล์ก (Blackboard,Chalk Board)
                           II.    กระดานผ้าสำลี (Flannel Boards)
                          III.   กระดานนิเทศ (Bulletin Boards)
                          IV.   กระดานแม่เหล็ก (Magnetic Boards)
                          V.   กระดานไฟฟ้า (Electric Boards)
   4.   ประเภทวัสดุสามมิติ (Three-Dimensional Materials) มี
                           I.   หุ่นจำลอง (Models)
                          II.   ของตัวอย่าง (Specimens)
                          III.   ของจริง (Objects)
                           IV.   ของล้อแบบ (Mock-Ups)
                          V.   นิทรรศการ (Exhibits)
                          VI.   ไดออรามา (Diorama)
                          VII.   กระบะทราย (Sand Tables)
   5.   ประเภทโสตวัสดุ (Auditory Instructional Materials)
                           I.   แผ่นเสียง (Disc Recorded Materials)
                           II.   เทปบันทึกเสียง (Tape Recorded Materials)
                          III.   รายการวิทยุ (Radio Program)
   6.    ประเภทกิจกรรมและการละเล่น (Instructional Activities and Plays)
                           I.   การทัศนาจรศึกษา (Field Trip)
                           II.   การสาธิต (Demonstrations)
                          III.   การทดลอง (Experiments)
                          IV.   การแสดงแบบละคร (Drama)
                          V.   การแสดงบทบาท (Role Playing)
                          VI.   การแสดงหุ่น (Pupetry)
7.    ประเภทเครื่องมือโสตทัศนูปกรณ์ (Audio-Visual Equipments)
1.   เครื่องฉายภาพยนตร์ 16 มม. , 8 มม.
2.   เครื่องฉายสไลด์และฟิล์มสตริป (Slide and Filmstrip Projector)
3.    เครื่องฉายภาพทึบแสง (Opaque Projectors)
4.   เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ (Overhead Projector)
5.    เครื่องฉายกระจกภาพ (3 1/4 "x 4" หรือ Lantern Slide Projector)
6.    เครื่องฉายภาพจุลทัศน์ (Micro-Projector)
7.    เครื่องเล่นจานเสียง (Record Plays)
8.   เครื่องเทปบันทึกภาพ (Video Recorder)
9.   เครื่องรับโทรทัศน์ (Television Receiver)
10.   จอฉายภาพ (Screen)
11.   เครื่องรับวิทยุ(Radio Receive)
12.   เครื่องขยายเสียง(Amplifier)
13.   อุปกรณ์เทคโนโลยีแบบใหม่ต่างๆ (Modern Instructional Technology Devices) เช่น โทรทัศนศึกษา ห้องปฏิบัติการภาษา โปรแกรมเรียน (Programmed Learning) และอื่นๆ

เอกสารอ้างอิง
·       http://suvaluck16.multiply.com/journal/item/11
                เข้าถึงเมื่อวันที่
28 กรกฎาคม 2554